ในปัจุบันเครื่องกรองสำหรับสระว่ายน้ำนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทหลัก
1. เครื่องกรองทราย (Sand Filter)
2. เครื่องกรองผ้า (D.E. Filter)
3. เครื่องกรองกระดาษ (Cartridge Filter)
ซึ่งราคาและประสิทธิภาพการกรองของถังกรองแต่ละประเภทนั้นก็จะมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นการเลือกขนาดเครื่องกรองสำหรับสระว่ายน้ำให้มีความเหมาะกับระบบสระว่ายน้ำ จึงจำเป็นจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับปั๊มสระว่ายน้ำ ถ้าหากว่าปั๊มสระว่ายน้ำ และเครื่องกรองที่ใช้งานไม่มีความเหมาะสมกับขนาดสระว่ายน้ำของคุณ อาจจะส่งผลทำให้ไม่สามารถกรองได้อย่างมีประสิทธิกาพ ดังนั้น ก่อนที่คุณจะเลือกเครื่องกรองสระว่ายน้ำควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีปั๊มสะรว่ายน้ำที่มีขนาดเหมาะสมแล้วหรือไม่
ก่อนที่เราจะสามารถเปรียบเทียบประเภทเครื่องกรองของสระว่ายน้ำได้แต่ละประเภทได้นั้น เราต้องมาทำความรู้จักกับความสารมารถ และรายละเอียดของแต่ละประเภทว่าสามารถทำงานได้ดีเพียงใด อันดับแรกควรต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องของขนาดไมครอนก่อน
หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินคำว่า ไมครอน หรือบางครั้งคุณอาจเคยเห็นคำนี้ผ่าน ๆ กันมาบ้างแล้ว ซึ่งคุณรู้หรือไม่ว่า ไมครอน คืออะไร?
ไมครอน คืออะไร ?
ถ้าพูดถึงเครื่องกรองสำหรับสระว่ายน้ำแต่ละประเภทแล้ว การกรองจะสามารถกำจัดอนุภาคสิ่งสกปรกที่ปะปนอยู่ในน้ำได้ในขนาดของไมครอนที่แตกต่างกัน หากนึกภาพไม่ออกว่ามันเล็กแค่ไหน? ให้ลองสังเกตได้จากเส้นผมของคุณ
เส้นผมของมนุษย์นั้นมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 50 ไมครอนซึ่งมนุษย์ยังสามารถมองเห็นได้ ซึ่งขนาดของอนุภาคที่เล็กสุดที่ทนุษย์จะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านั่นคือ 40 ไมครอน นั่นหมายความวว่าสิ่งปนเปื้อนเหล่านั้นที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ยังสามารถถูกกรองออกจากน้ำได้หากตัวกรองนั้นเป็นวัสดุที่สามารถกรอง อนุภาคเล็ก ๆ เหล่านั้นได้
ประเภทของเครื่องกรองสระว่ายน้ำ
แล้วเครื่องกรองสำหรับสระว่ายน้ำแต่ละประเภท มีความแตกต่าง รวมไปถึงข้อดี ข้อเสีย และการใช้งานกันอย่างไร วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับเครื่องกรองแต่ละประเภทกันนะครับ
1. เครื่องกรองทราย (Sand Filter)
หากคุณมีงบประมาณจำกัด และไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลบำรุงรักษา เครื่องกรองทรายถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด อีกทั้งยังเหมาะสำหรับสระว่ายน้ำขนาดใหญ่อีกด้วย
เครื่องกรองกราย เป็นเครื่องกรองที่ใช้ทรายเป็นสื่อกรองในการกรองสิ่งสกปรกออกจากน้ำ โดยผ่านชั้นทรายภายในเครื่อง ซึ่งเม็ดทรายแต่ละเม็ดนั้นจะมีขอบเหลี่ยมขรุขระเล็ก ๆ มากมายรอบตัว ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้จับสิ่งปนเปื้อนและเศษเล็กเศษน้อยที่ผ่านเข้าเครื่องกรอง ช่องว่างระหว่างเม็ดทรายจะดักจับอนุภาคฝุ่นให้แยกออกจากน้ำ สามารถจับอนุภาคได้ประมาณ 30 ไมครอน หรือใหญ่กว่า
ข้อดีของเครื่องกรองทราย | ข้อเสียของเครื่องกรองทราย |
ช่วยในการลดต้นทุน | ประสิทธิภาพการกรองน้อยที่สุดในสามประเกท |
บำรุงรักษาง่าย ไม่ต้องการการดูแลบ่อยมาก | สูญเสียน้ำในปริมาณที่มากในการ Backwash |
ทรายมีอายุการใช้งาน ประมาณ 7-10 ปี |
หลักการการทำงาน คือ น้ำจะไหลผ่านเข้าสู่ตัวกรองจากทางด้านบนของเครื่องกรอง และจะไหลลงกระจายตามชั้นทรายอย่างสม่ำเสมอ จากนั้นน้ำที่ผ่านการกรองแล้วจะไหลเข้าสู่ก้านกรองที่เรียกว่า Lateral ที่อยู่ตรงส่วนด้านล่างของเครื่องกรองเพื่อปล่อยกลับเข้าสู่สระว่ายน้ำ
การทำความสะอาดด้วยการ BACKWASH คือ การทำความสะอาดภายในเครื่องกรอง ซึ่งเป็นวิธีการทำความสะอาดที่ง่าย โดยที่เครื่องกรองจะทำการเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำ และล้างเอาสิ่งสกปรกทิ้งออกไป
เครื่องกรองทรายที่มีการเติมทรายใหม่จะสามารถทำงานได้ดีและกรองสิ่งสกปรกได้เล็ก แต่เมื่อใช้งานเป็นเวลานาน ขอบเหลี่ยมของเม็ดทรายจะเริ่มสึกกร่อนอย่างช้า ๆ เมื่อขอบเหลี่ยมหายจนกลายเป็นพื้นผิวเรียบ ๆ จะทำให้ไม่สามารถดักจับสิ่งใด ๆ ได้ และประสิทธิกาพในการกรองจะเริ่มลดลง และทรายเริ่มสกปรกมากขึ้น ในที่สุดก็จะเริ่มส่งผลให้เครื่องกรองเริ่มอุดตันจนทำให้อัตราการไหลของน้ำลดลงได้ และจะทำให้อัตราความดันภายในถังเพิ่มขึ้นไปด้วย เมื่ออัตราความดัน เพิ่มขึ้นจนถึง 1.5 bar หรือมากกว่าความดันเริ่มต้น ควรต้องกำการ Backwash ดังนั้นควรสังเกตที่เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) ของเครื่องกรองเพื่อเช็คการเพิ่มแรงดันภายในตัวถัง
2. เครื่องกรองคาร์ทริจ (Cartridge Filter)
เครื่องกรองคาร์ทริจ หรือที่ในปัจจุบันนิยมเรียกกันว่าเครื่องกรองกระดาษ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วเครื่องกรองประเภทนี้จะมีราคาที่สูง กว่าเครื่องกรองทรายเล็กน้อยก็ตาม แต่เครื่องกรองกระดาษนั้นสะดวก และง่ายต่อการใช้งานมากกว่า รวมถึงประสิทธิกาพในการกรองยังสูงกว่าด้วย แต่ถังกรองประเภทนี้ไม่เหมาะที่จะใช้กับสระว่ายน้ำที่มีขนาดใหญ่มากนัก
เครื่องกรองคาร์ทริจ โดยทั่วไปภายในถังกรองจะมีตัวกรองเฉพาะของเครื่องกรองประเภทนี้ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกที่ล้อมรอบด้วยสื่อกรองที่ผลิตจากวัสดุโพลีเอสคอร์ ที่ออกแบบมาเป็นลักษณะจีบต่อ ๆ กัน ช่วยในการดักขับสิ่งสกปรกต่าง ๆ และถังกรองประเภทนี้ยังมีข้อดีคือ ไม่จำเป็นต้องมีมัลติพอร์ตวาล์ว ทำให้เครื่องกรองประเภทนี้มีการใช้งานที่ง่าย และสะดวกในการติดตั้ง
ข้อดีของเครื่องกรองคาร์ทริจ | ข้อเสียของเครื่องกรองคาร์ทริจ |
กรองสิ่งสกปรกได้ถึง 20 ไมครอน | ทำงานหนักกว่าเครื่องกรองกราย |
ไม่ต้องมีการ Backwash ทำให้ประหยัดน้ำ | มีอายุการใช้งานของตัวกรองเพียง 2 ถึง 3 ปี |
ทำงานได้ดี ที่รอบความเร็วต่ำ | ต้องการ การทำความสะอาดอย่างละเอียด |
สามารถใช้ร่วมกับปั๊มปรับความเร็วได้ดี |
หลักการการทำงาน เมื่อน้ำไหลข้าสู่ตัวถัง น้ำจะไหลผ่านจีบแต่ละจีบที่ตัวสื่อกรอง และจะดักจับสิ่งสกปรกปนเปื้อนที่มีขนาดเล็กได้ที่ 20 ไมครอน จากนั้นน้ำที่ผ่านชั้นกรองไปแล้วจะถูกส่งกลับเข้าสู่สระว่ายน้ำ เครื่องกรองตลับนั้น ยังช่วยในการประหยัดพลังงาน อีกทั้งราคาไม่สูงมากแต่เมื่อตัวกรองเริ่มมีสิ่งสกปรกมาก จะทำให้ประสิทธิกาพในการกรองเริ่มลดลง จึงจำเป็นต้อง ทำความสะอาดบ่อยครั้ง การทำความสะอาดจะใช้วิธีถอดและนำตลับไส้กรองออกมาแล้วฉีดล้างด้วยน้ำสะอาดเบา ๆ เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่อยู่ตามพื้นผิวตัวกรองออกไปการดูแลรักษาสามารถทำได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้มัลติพอร์ตวาล์วเหมือนเครื่องกรองประเภทอื่น ใช้แค่เพียงการถอดล้างเท่านั้น
3. เครื่องกรองแบบใช้ผงกรอง (D.E. Filter)
เครื่องกรองชนิดใช้ผงกรอง DE Filter หรือที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าเครื่องกรองแบบถังกรองผ้าเนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการเป็นที่อยู่ของผงกรองนั้น มีลักษณะเป็นผ้านั่นเอง ถือว่าเป็นเครื่องกรองประเภทที่สามารถกรองอนุภาคได้ที่ขนาดเล็กที่สุดจากทั้งสามประเภท แต่ก็เป็นเครื่องกรองที่มีราคาสูงมากที่สุดเช่นกัน
เครื่องกรอง D.E. นั้น ภายในประกอบด้วยแผ่นกริด ที่ใช้สำหรับเป็นที่อยู่ของผงกรองซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกรองหลักของเครื่องกรองประเภทนี้ จึงทำให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น และสามารถดักจับอนุภาคได้ขนาดเล็กมากเพียง 5 ไมครอน และกรองผ้าที่ปราศจากจากผงกรองจะไม่สามารกกรองสิ่งสกปรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อดีของเครื่องกรอง D.E. | ข้อเสียของเครื่องกรองคาร์ทริจ |
สามารถกรองได้ละเอียดที่สุด ถึง 5 ไมครอน | มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด |
ไม่มีสารเคมีที่ก่อให้เกิดการกัดกร่อน | ต้องการการดูแลและทำความสะอาดบ่อย |
จำเป็นต้องเปลี่ยนแผ่นกริดทุก ๆ 2 ถึง 3 ปี | |
ผงกรอง D.E. อาจเป็นอันตรายหากมีการสูดดม |
หลักการการทำงาน คือ น้ำจะไหลผ่านเข้าสู่ตัวกรองจากทางด้านล่างของเครื่องกรอง และจะไหลผ่านเข้าสู่แผ่นกริด ซึ่งจะมีผงกรองไปจับตัวอยู่ตามช่องว่างของแผ่นผ้าของตัวกริดเพื่อดักจับสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่มากับน้ำ จากนั้นน้ำจะไหลผ่านเข้าท่อตรงกลางเครื่องกรองเพื่อจ่ายกลับเข้าสู่สระว่ายน้ำต่อไป เมื่อเครื่องกรองเริ่มสกปรกเนื่องจากเริ่มมีสิ่งสกปรกอุดตันตามแผ่นผ้ากรอง จะทำให้ประสิทธิกาพในการกรองลดลง และน้ำจะไม่สามารถไหลผ่านได้เต็มที่ จึงจำเป็นต้องล้างตัวกรองและแผ่นผ้ากรอง ซึ่งการทำความสะอาดนั้นให้สังเกตที่ตัวเกจวัดความดันของเครื่องกรองเช่นเดียวกับเครื่องกรองทราย โดยทั่วไปแล้วเครื่องกรอง D.E. สามารถทำการ Backwash ได้เหมือนเครื่องกรองทราย แต่ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้บ่อยครั้ง เนื่องจากจะทำให้อายุการใช้งาน ของแผ่นกริดลดลงควรทำความสะอาดด้วยการถอดล้างด้วยน้ำสะอาดเบาๆ แต่ไม่ว่าจะใช้วิธี Backwash หรือถอดออกมาล้างก็ตาม จำเป็นต้องเติมผงกรองเพิ่มหลังจากทำความสะอาดเสร็จแล้วทุกครั้ง อาจเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดว่าจะต้องเติมผงกรองเท่าไร ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องถอด ตัวกรองออกมาทำความสะอาดด้วยมืออย่างน้อยปีละครั้ง เมื่อได้รู้จักกับเครื่องกรองสำหรับสระว่ายน้ำแต่ละประเภทกันมากขึ้น ก็สามารถช่วยให้ผู้อ่านสามารถเลือก และตัดสินใจใช้เครื่องกรองได้เหมาะสมยิ่งขึ้น แล้วครั้งต่อไปมาพบกับบทความใหม่ๆ กันนะครับ
เรามาทำความรู้จักเครื่องกรองทรายกันเถอะ
ถ้าหากคุณมีงบประมาณจำกัด และยังไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลบำรุงรักษาที่บ่อยนัก เครื่องกรองทรายถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ที่คุณต้องจัดสินใจเลือกใช้เป็นอันดับต้น ๆ อย่างแน่นอน เนื่องจากว่า เครื่องกรองทรายนั้นไม่จำเป็นต้องคอยดูแล หรือทพความสะอาดสารกรองเท่าเครื่องกรองประเภทอื่น ๆ และถึงแม้ว่าจะต้องทำความสะอาดเครื่องกรองอยู่บ้าง แต่ก็สามารถทำความสะอาดได้ง่ายกว่า เพียงใช้งานฟังก์ชั่นการ Backwash นั่นเอง อีกทั้งเครื่องกรองทรายยังมีขนาดที่สามารถให้เลือกใช้งานร่วมกับสระว่ายน้ำขนาดใหญ่อีกด้วย อีกทั้งเนื่องจากสารกรองทรายนั้นอุดตันได้ยากกว่าเครื่องกรองประเภทอื่น ทำให้ช่วยลดปัญหาการไหลของน้ำได้ดีอีกด้วย
เครื่องกรองประเภทนี้ จะใช้ทรายเป็นสารกรอง ซึ่งเม็ดทราย แต่ละเม็ดจะมีขอบขรุขระเล็ก ๆ มากมายรอบตัวซึ่งส่วนที่ขรุขระนั้น มีหน้าที่สำหรับดักจับจับสิ่งปนเปื้อน และเศษเล็กเศษน้อยที่ไหลปะปนมากับน้ำ ทำให้สามารถจับอนุภาคได้ประมาณ 30 ไมครอน หรือใหญ่กว่าได้
หลักการทำงานของเครื่องกรองทราย
หลักการทำงานของเครื่องกรองทราย จะใช้หลักการที่ให้น้ำไหลผ่านเข้าถังกรอง ผ่านเข้าสู่ชั้นกรองจากทางด้านบน จากนั้นส่วนที่เป็นตัวกระจายน้ำจะกระจายน้ำ ให้ไหลผ่านตามชั้นทรายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อน้ำที่ผ่านการกรองลงมาถึงชั้นล่างสุด น้ำจะไหลกลับเข้าสู่ก้านกรองด้านล่างที่เรียกว่า Lateral เพื่อให้น้ำไหลผ่านกลับเข้าสู่ระบบท่อแล้วส่งน้ำกลับเข้าสู่ระบบฆ่าเชื้อโรคต่อไป
หลักการทำงานการ Backwash
การ Backwash หรือ ก็คือการล้างย้อนของเครื่องกรอง เพื่อทำความสะอาดสารกรองนั่นเอง ถือว่าเป็นวิธีการทำความสะอาดที่ง่าย หลักการทำงานของฟังก์ชั่นนี้ แค่เพียงเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำโดยจะล้างเอาสิ่งสกปรกทิ้งออกไปจากเครื่องกรอง
ความลับที่ไม่ลับ
เครื่องกรองทรายที่มีการเติมทรายใหม่จะสามารถทำงานได้ดี และกรองสิ่งสกปรกได้ละเอียด
แต่เมื่อใช้งานเป็นเวลานาน ย่อมต้องมีการเสื่อมสภาพของสารกรองเป็นปกติ ขอบเหลี่ยมของเม็ดทรายจะเริ่มสึกกร่อนอย่างช้า ๆ และเมื่อขอบเหลี่ยมหายไปจนกลายเป็นเพียงพื้นผิวเรียบ ๆ จะทำให้ไม่สามารถดักจับสิ่งใด ๆ ได้ และประสิทธิกาพในการกรองจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ สุดท้ายเมื่อไม่มีขอบที่ขรุขระ ทรายจะเริ่มสกปรกมากขึ้น ในที่สุดก็จะส่งผลให้เครื่องกรองเริ่มอุดตันจนทำให้อัตราการไหลของน้ำลดลงได้ และจะทำให้อัตราความดันภายในถังเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นควรหมั่นสังเกตที่เกจวัดความดันของเครื่องกรอง เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นของแรงดันภายในตัวถัง ซึ่งเป็นสัญญาณว่าถึงเวลาที่จะ Backwash ได้แล้วนั่นเอง
ในครั้งนี้เราก็ได้ทราบถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องกรองทรายกันไปแล้ว หากคุณเริ่มสนใจ หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถโทรสอบถาม หรือปรึกษากับเราได้ครับ ทาง บริษัท เจไฟว์ เอ็กซ์ปอร์ต อิมปอร์ต จำกัด เรามี วิศวกร และฝ่ายเทคนิค ที่สามารถให้คำปรึกษา และเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมที่สุดครับ