Search
Search
ปั๊มสระว่ายน้ำ

Self-Priming Centrifugal Pump

ปั๊มสระว่ายน้ำ

        เคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าปั๊มสำหรับระบบสระว่ายน้ำนั้น แตกต่างจะปั๊มอื่นๆ อย่างไร ซึ่งหลายคนอาจะยังไม่รู้ว่า สระว่ายน้ำนั้นก็มีปั๊มที่เหมาะสมกับระบบสระว่ายน้ำโดยเฉพาะเช่นกัน แล้วปั๊มที่ว่าเป็นปั๊มประเภทไหน วันนี้เราจะพาไปรู้จักกันครับ และอาจจะมีคนสงสัยว่าถ้าหากใช้เป็นปั๊มประเภทอื่น ร่วมกับระบบสระว่ายน้ำได้ไหม? วันนี้เรามีคำตอบมาฝากด้วยครับ

ปั๊มสระว่ายน้ำ

 

ทำไมต้องเป็นปั๊ม Self-Priming?
     หลายๆ คนคงรู้กันดีว่า ระบบหมุนเวียนสระว่ายน้ำนั้นเป็นระบบที่ต้องการระบบ Priming จึงจำเป็นต้องใช้ปั๊มแบบเฉพาะ ด้วยการที่เป็นปั๊ม Self-Priming หมายถึงปั๊มที่ไม่ต้องล่อน้ำ สำหรับในกรณีของระบบสระว่ายน้ำ โดยทั่วไปแล้วมักจะติดตั้งให้ทางด้านดูดของปั๊มสูงกว่าระดับน้ำ หากติดตั้งในลักษณะนี้ จึงจำเป็นจะต้องมีการติดตั้ง Foot Valve เพื่อเก็บกักน้ำให้อยู่ในเส้นท่อทางดูดให้เต็มอยู่ตลอดเวลา หากไม่ต้องการที่จะล่อน้ำใหม่ จึงทำให้เกิดความยุ่งยากต่อการใช้งาน ดังนั้นการใช้ Self-Priming pump จะเป็นการช่วยลดปัญหาเหล่านี้ออกไปได้นั่นเองครับ

ปั๊มสระว่ายน้ำ

แล้ว Centrifugal Pump คือ?
        สำหรับปั๊มที่ต้องการระบบ Priming ส่วนมากแล้วจะนิยมใช้เป็นปั๊มแบบ Centrifugal ที่รู้จักกันในชื่อปั๊มแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ หรือปั๊มหอยโข่ง โดยที่ Centrifugal pump จะอาศัยการเหวี่ยงน้ำออกไปตามแนวรัศมีเพื่อให้เกิดแรงดันเพิ่มขึ้นจากแรงหนีศูนย์กลาง เมื่อน้ำในตัวเรือนปั๊มถูกเหวี่ยงออกไปแล้ว บริเวณศูนย์กลางใบพัดจะมีแรงดันที่ลดต่ำลงกว่าแรงดันบรรยากาศ ทำให้แรงดันบรรยากาศผลักน้ำเข้าหาตัวปั้มผ่านทางท่อด้านดูด แต่หากไม่มีน้ำอยู่ในตัวเรือนปั้ม และท่อด้านดูดอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว ก็จะไม่มีการเหวี่ยงน้ำแล้วก็ไม่สามารถทำให้กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นได้ หรือหากมีอากาศเข้ามาในท่อดูด ก็จะทำให้เกิดเป็นโพรงอากาศในตัวเรือนปั๊มแล้วก็ทำให้กระบวนการดังกล่าวสิ้นสุดลง

ปั๊มสระว่ายน้ำ

คุณสมบัติเด่นของ ปั๊มสระว่ายน้ำ ประเภทนี้
  1. ตัวเรือนปั๊มมีขนาดใหญ่ ทำให้สามารถเก็บกักน้ำได้ในเสื้อปั๊ม
  2. สามารถกรองเศษสิ่งปรกขนาดใหญ่ออกไปได้ก่อน เพื่อป้องกันที่อาจสร้างความเสียหายให้ใบพัดปั๊ม
  3. ปั๊มสามารถทนต่อสารเคมีได้เป็นอย่างดี เนื่องจากวัสดุที่ใช้ผลิต ส่วนมากจะนิยมใช้เป็น Thermo Plactic แบบพิเศษที่เสริมความแข็งแรง
  4. Mechanical Seal ทนต่อสารเคมีได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นวัสดุที่ทนสารเคมีโดยเฉพาะ รวมถึงปั๊มบางรุ่นยังสามารถใช้กับสระว่ายน้ำระบบเกลือได้อีกด้วย
  5. มีหลากหลายขนาดให้เลือกตามอัตราการไหล  (Flow Rate) และความสูง (Total Head)

ปั๊มสระว่ายน้ำ

ข้อควรระวังสำหรับการใช้งานปั๊มแบบ Self-Priming
   1. ถึงแม้ว่าจะมีการกักเก็บน้ำไว้ตรงส่วนของเสื้อปั๊มแล้วก็ตาม แต่บางครั้งก็ยังต้องระวังในเรื่องของการเดินปั๊ม ขณะที่ไม่มีน้ำ เพราะอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการ Run Drying ได้
  2. แนะนำให้ติดตั้ง Foot Valve เพื่อเก็บกักน้ำให้อยู่ในเส้นท่อทางดูดให้เต็มอยู่ตลอดเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของปั๊ม Self-Priming
  3. ระวังสิ่งสกปรก หรือของแข็งที่มีขนาดใหญ่ หลุดเข้าไปในตัวปั๊ม เนื่องจากวัสดุเป็นพลาสติก การที่มีของแข็งขนาดใหญ่หลุดเข้าไป จะเป็นการทำลายส่วนภายใน ไม่ว่าจะเป็น ตัวป๊ม ใบพัด รวมถึง Mechanical Seal จนเกิดความเสียหายได้

        ทั้งนี้ปั๊มแต่ละประเภทนั้นได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทาง หรืองานที่มีความเหมาะสมนั้นๆ และอย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น ระบบสระว่ายน้ำนั้นต้องการ ระบบ Priming จึงควรใช้ปั๊มที่สามารถดึงน้ำ หรือกักน้ำไว้ได้ และอีกทั้งแรงดันของปั๊มประเภทอื่นๆ อาจมีความแรงเกินกว่าที่เครื่องกรองสระว่ายน้ำจะรับไหว แนะนำว่าควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการเลือกปั๊ม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่ถูกต้อง และดีที่สุดครับ

ปรึกษาเราฟรี

ปรึกษาทุกปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับสระว่ายน้ำกับผู้เชียวชาญ

ปรึกษาทุกปัญหาและความต้องการ
เกี่ยวกับสระว่ายน้ำกับผู้เชียวชาญ

ข่าวสารและบทความ