มันคงจะดีไม่น้อยถ้าคุณได้มีสระว่ายน้ำอยู่สวนหลังบ้านของคุณ และเมื่อต้องการที่จะสร้างสระว่ายน้ำขึ้นมา ก็มีเรื่องที่ทำให้คุณต้องคิดพิจารณามากมาย และหนึ่งในเรื่องที่สำคัญที่สุดคงไม่พ้นระบบหมุนเวียนสระว่ายน้ำใช่ไหมครับ ไม่ว่าจะเป็นระบบกรอง ระบบฆ่าเชื้อโรค หรือแม้แต่ระบบสปา แล้วอะไรหล่ะที่สำคัญที่สุดในระบบหมุนเวียนสระว่ายน้ำ รวมถึงระบบอื่นๆ ในสระว่ายน้ำ ถ้าไม่ใช่ ปั๊มสระว่ายน้ำ
เนื่องจากปั๊มสระว่ายน้ำในปัจจุบันมีเกิดขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติของปั๊มสระว่ายน้ำ ที่ให้เลือกหลากหลายตามการใช้งานต่างๆ ซึ่งหลายคนคงมีคำถามว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าปั๊มสระว่ายน้ำแต่และแบบ แต่ละประเภทเหมาะกับการใช้งานแบบไหน เพื่อให้การตัดสินใจของคุณง่ายขึ้น และช่วยให้คุณเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ครั้งนี้เราได้รวบรวมคำตอบที่อาจเป็นประโยชน์เกี่ยวกับปั๊มสระว่ายน้ำ มาฝากทุกๆคนแล้วครับ
ปั๊มสระว่ายน้ำ หลักๆแล้วใช้ทำอะไร?
ปั๊มสระว่ายน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการหมุนเวียนของน้ำในสระ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้สระอยู่ในสภาพดี และเหมาะสำหรับการว่ายน้ำ ปั๊มสระว่ายน้ำจะดึงน้ำจากสระ และส่งไปยังระบบกรอง ระบบทำความร้อน ระบบฆ่าเชื้อโรค รวมถึงระบบสปา หรือระบบอื่นๆ โดยปั๊มสระว่ายน้ำจะส่งน้ำที่ผ่านกระบวนการเหล่านี้ แล้วกลับคืนสู่สระ พร้อมให้คุณได้ใช้งานได้อย่างสบายใจ
แล้วแต่ละระบบ แต่ละการใช้งาน ควรเลือกใช้ปั๊มสระว่ายน้ำอย่างไร?
ต้องอธิบายว่าในปัจจุบันนั้น นอกจาก ปั๊มสระว่ายน้ำ ที่ใช้ร่วมกับระบบหมุนเวียนสระว่ายน้ำแล้ว ยังมีระบบอื่นๆที่ต้องการประสิทธิภาพของปั๊มที่แตกต่างกันไป เช่นใช้สำหรับกรองน้ำ (Filtration), ใช้สำหรับระบบหมุนเวียนขนาดใหญ่ (Commercial) ใช้สำหรับน้ำพุ น้ำตก (Fountain and Waterfall), ใช้สำหรับระบบจากุชชี และสปา (Spa & Jacuzzi), ปั๊มระบบว่ายน้ำทวนกระแส (Counter Current Jet) ซึ่งการใช้งานแต่ละประเภทก็มี อัตราการไหลที่ต้องการ แตกต่างกันไป จึงจำเป็นต้องเลือกปั๊มให้เหมาะสมต่อการใช้งานนั้นๆ
แล้วปั๊มแบบไหนเหมาะกับระบบอะไรบ้าง?
ต่อมาเราจะมาทำความเข้าใจถึงปั๊มแต่ละแบบ ที่เหมาะกับแต่ละการใช้งาน ซึ่งถ้าจำแนกตามการใช้งาน ปั๊มที่เกี่ยวข้องกับระบบสระว่ายน้ำจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท
1. ปั๊มสระว่ายน้ำทั่วไป (Pool Pump)
คือ ปั๊มที่จะใช้ในระบบสระว่ายน้ำ เราจะเรียกกันว่า Self-Priming Centrifugal Pump with Strainer หรือปั๊มแบบที่มีตะกร้ากรองนั่นเอง โดยทั่วไปแล้วปั๊มแบบนี้จะเป็นปั๊มขนาดไม่ใหญ่มาก มักจะมีขนาดให้เลือกใช้งานตั้งแต่ขนาดมอเตอร์ 0.5 HP ไปจนถึง 3.0 HP มักนิยมใช้กับสระว่ายน้ำที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก หรือสระว่ายน้ำที่มีการจำกัดเวลาการใช้งาน เพื่อไม่ให้ทำงานหนักเกินไป เหมาะกับการใช้งานกับระบบกรอง หรือการหมุนเวียนน้ำในสระว่ายน้ำทั่วไป ส่วนการจะเลือกปั๊มขนาดเท่าไหร่เพื่อให้เหมาะสม ก็จะขึ้นอยู่กับขนาดสระว่ายน้ำ และปริมาตรน้ำในสระว่ายน้ำนั่นเองครับ
เหมาะกับ
– ระบบกรอง ระบบหมุนเวียนน้ำ
– บ้านพักอาศัยส่วนตัว
– สระว่ายน้ำส่วนกลางคอนโดมิเนียม
– สระว่ายน้ำโรงแรม
– สระว่ายน้ำ รีสอร์ท พูลวิลล่า
2. ปั๊มสำหรับระบบเชิงพาณิชย์ (Commercial Pump)
แบบที่สองจะเป็นปั๊มที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในระบบใหญ่ๆ หรืองานที่เป็นเชิงพาณิชย์ รูปแบบปั๊มจะคล้ายๆ กับแบบแรก ที่เป็นแบบ Self-Priming Centrifugal Pump with Strainer แต่จะมีขนาดใหญ่กว่ามาก บางครั้งอาจจะเห็นปั๊มประเภทนี้ที่สามารถถอดแยก Strainer ได้ก็มีเช่นกัน เพื่อให้สามารถติดตั้งได้สะดวก มักจะมีขนาดให้เลือกใช้ตั้งแต่ขนาด 3.5 HP ขึ้นไป อาจสูงถึง 15.0 HP นิยมใช้กับสระว่ายน้ำสาธารณะ หรือสระว่ายน้ำขนาดใหญ่
เหมาะกับ
– ระบบกรอง ระบบหมุนเวียนน้ำ
– สระว่ายน้ำสโมสร
– สระว่ายน้ำโรงเรียน
– สระว่ายน้ำเชิงพาณิชย์
– สวนน้ำ สวนสนุก
– ระบบกรองน้ำขนาดใหญ่
3. ปั๊มเสริมแรง (ฺBooster Pump)
สำหรับปั๊มเสริมแรงนั้น จะรู้จักกันในชื่อ บูสเตอร์ปั๊ม ที่จะมีลักษณะคล้ายกับ ปั๊มสระว่ายน้ำทั่วไป แต่จะเป็น Centrifugal without Strainer Pump หรือก็คือจะไม่มีตะกร้ากรองหน้าปั๊มนั่นเอง สาเหตุที่ปั๊มแบบนี้ไม่มีตัวกรอง ด้านหน้าเนื่องจาก ได้รับการออกแบบมาให้ได้อัตราการไหลที่มาก เพื่อใช้กับระบบที่ต้องการแรงดูด/ส่งน้ำที่สูง จึงไม่จำเป็นต้องมี Strainer ด้านหน้า โดยทั่วไป บูสเตอร์ปั๊มจะมีขนาดที่หลากหลาย ตั้งแต่ ขนาด 1.0 HP จนอาจสูงถึง 15.0 HP เลย
เหมาะกับ
– ระบบน้ำพุ น้ำตก
– ระบบจากุชชี และสปา
– ระบบว่ายน้ำทวนกระแส
4. ปั๊มปรับความเร็ว (ฺVariable Speed Pump)
หรือปั๊มประหยัดพลังงาน ซึ่งตามชื่อที่บอกเลยครับ คือปั๊มที่สามารถปรับความเร็วรอบได้ ทำให้สามารถเลือกใช้งานได้หลากหลาย และเหมาะสมกับระบบนั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ปั๊มสระว่ายน้ำหลายๆตัว ทำงานหลายระบบ เพราะถ้าหากใช้เป็นปั๊มสระว่ายนำทั่วไป ก็จะมีเพียงความเร็วระดับเดียว แต่หากใช้เป็นปรับความเร็ว ก็จะช่วยให้ได้อัตราการไหลที่เหมาะสมกับฟังก์ชั่นการใช้งานนั้นๆได้เหมาะสม บางครั้งยังใช้เป็นปั๊มเพื่อช่วยในการประหยัดพลังงานได้อีกด้วย
เหมาะกับ
– ระบบน้ำพุ น้ำตก ที่ต้องการปรับระดับความแรง
– สระว่ายน้ำที่มีหลายๆระบบ เช่น ใช้ปั๊มสลับจากระบบกรอง ไปใช้กับระบบสปา
ทั้งนี้ถึงแม้จะได้ทราบถึง ความเหมาะสมต่อการใช้งานของปั๊มแต่ละประเภทแล้ว แต่การจะเลือกใช้ปั๊มได้เหมาะสมที่สุด อย่าลืมพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น อัตราการไหล, ขนาดท่อ, แรงม้าของมเอตร์, แรงดันไฟฟ้า ฯลฯ เป็นต้น เพื่อที่จะสามารถทำให้คุณเลือกปั๊มสระว่ายน้ำได้อย่างเหมาะสมกับสระว่ายน้ำของคุณอย่างประสิทธิภาพที่สุด หากคุณยังไม่มั่นใจว่าคุณจะตัดสินใจอย่างไรดี สามารถปรึกษาทีมงานของเราได้เสมอเลยครับ แล้วกลับมาพบกับบทความใหม่ครั้งหน้าครับ